บทที่ 8
การใช้สารสนเทศตามกฎหมายและจริยธรรม
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์
การรับวัฒนธรรมที่แฝงเข้ามา กับแหล่งข่าวสารข้อมูลในรูปแบบต่างๆ
ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรมของมนุษย์ โดยเฉพาะบนเครือ
ข่ายสารสนเทศซึ่งเป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงกันทุกมุมโลก การเปิดรับข่าวสารที่มาจากแหล่งข้อมูลดังกล่าว
จึงขึ้นอยู่กับการตัดสินใจ และทัศนคติส่วนบุคคล การรับข้อมูลข่าว
สารที่ไม่เหมาะสมส่งผลกระทบต่อการ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมโดยเฉพาะ
พฤติกรรมไม่พึงประสงค์ และมีแนวโน้มทำให้เกิดอาชญากรรม ปัญหา
ทางศีลธรรมและจริยธรรม เช่น อาชญากรรมบนเครือข่าย หรือ
การกระทำผิดกฎหมายโดยใช้เทคโนโลยี สารสนเทศ อาชญากรรม 6 ประเภท ได้แก่ จารกรรมข้อมูลทางราชการทหารและข้อมูลทางราชการลับ
จาก กรรมทรัพย์สินทางปัญญาและข้อมูลด้านธุรกรรม จารกรรมเงิน
และทำให้เกิดการติดขัดทางด้านพาณิชย์ การ โต้ตอบเพื่อการ ล้างแค้น การก่อการร้าย
เช่น ทำลายข้อมูล ก่อกวนการทำงานของ ระบบ และเสนอข้อมูล ที่ผิดและการเข้าสู่ระบบเพียงเพื่อแสดงให้เห็นว่ามีความสามารถทำได้
ผลกระทบของเทคโนโยลีสารสนเทศ
-ผลกระทบทางบวก
1)
เพิ่มความสะดวกสบายในการสื่อสารการบริการและการผลิต
2)
เป็นสังคมแห่งการสื่อสารเกิดสังคมโลกขึ้น
3)
มีระบบผู้เชี่ยวชาญต่างๆ ในฐานข้อมูลความรู้
4)
เทคโนโลยีสารสนเทศสร้างโอกาสให้คนพิการ หรือผู้ด้อยโอกาสจากการพิการ
5)
พัฒนาคุณภาพการศึกษา
6)
การทำงานเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น
7)
ผู้บริโภคได้รับประโยชน์จากการบริโภคสิ้นค้าที่หลากหลายและมีคุณภาพดีขึ้น
-ผลกระทบทางลบ
1)
ก่อให้เกิดความเครียดขึ้นในสังคม เนื่องจากมนุษย์ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง
2)
ก่อให้เกิดการรับวัฒนธรรม หรือแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมของคนในสังคมโลก
3)
ก่อให้เกิดผลด้านศิลธรรม
4)
การมีส่วนร่มของคนในสังคมลดน้อยลง
5)
การละเมิดสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล
6)
เกิดช่องว่างทางสังคม การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศจะเกี่ยวช้องกับการลงทุน
ผู้ใช้จึงเป็น ชนชั้นในอีกระดับหนึ่งของสังคม
7)
เกิดการต่อต้านเทคโนโลยี
8)
อาชญากรรมบนเครือข่าย ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศก่อให้เกิดปัญหาใหม่ๆ ขึ้น
เช่น ปัญหาอาชญากรรม ตัวอย่างเช่น อาชญากรรมในรูปของการขโมยความลับ การขโมยข้อมูล
สารสนเทศ การให้บริการ สารสนเทศที่มีการหลอกลวง
9)
ก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพ
ปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ
มุมมองว่าเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือที่มีไว้เพื่อให้มนุษย์บรรลุวัตถุประสงค์
เมื่อมองว่าเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือ
เครื่องมือบางอย่างก็มีประโยชน์มาก บางอย่างก็ มีประโยชน์น้อย
และบางอย่างก็ไม่มีประโยชน์ การเลือกใช้เครื่องมือจะส่งผลต่อวิธีการทำงานของมนุษย์
เช่น พฤติกรรมในการเขียนของผู้ใช้โปรแกรมประมวลผลคำจะแตกต่างไปจากผู้ใช้กระดาษ
และปากกา เป็นต้น
มุมมองว่าเทคโนโลยีสารสนเทศและสังคมต่างก็มีกระทบซึ่งกันและกัน
ภายใต้มุมมองแบบนี้
มีความเห็นว่าสังคมส่งผลกระทบต่อเทคโนโลยี ทั้งนี้โดยอาศัยแรงขับเคลื่อนทาง
วัฒนธรรม การเมือง และเศรษฐกิจ เป็นเหตุปัจจัยในการออกแบบเทคโนโลยียกตัวอย่างเช่น
การออกแบบ ให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานหลายๆ งานได้ในขณะเดียวกัน
มีผลมาจากประเด็นทางเศรษฐกิจ เพื่อให้ ประหยัดทรัพยากรของหน่วยประมวลผลกลาง
หรืออีกตัวอย่างหนึ่งได้แก่ กระแสความต้องการการสื่อสาร
ที่รวดเร็วได้ผลักดันให้เกิดอินเตอร์เน็ตขึ้น
มุมมองว่าเทคโนโลยีเป็นกลไกในการดำรงชีวิตของมนุษย์
ภายใต้มุมมองในลักษณะนี้จะมองว่าเทคโนโลยีสานสนเทศจะเป็นกลไกสำคัญในการกำหนดชีวิต
ความเป็นอยู่ของมนุษย์ ยกตัวอย่างเช่น การติดต่อสื่อสารของมนุษย์
จะถูกกำหนดว่าเป็นสิ่งที่ต้องพึ่งพา
เทคโนโลยีซึ่งในโลกนี้ก็มีเทคโนโลยีการสื่อสารอย่าหลายรูปแบบแต่เทคโนโลยีที่มีความเสถียร
จะเป็นทาง เลือกและมนุษย์จะใช้เป็นกลไกในการดำรงชีวิต ดังเช่น
คนที่มีและคนที่ใช้โทรศัพท์มือถือ จะแตกต่างจากคน ที่ไม่มีโทรศัพท์มือถือติดตัว
การที่มีโทรศัพท์มือถือแสดงให้เห็นว่าเป็นคนที่สารมารถติดต่อได้สะดวก และเข้า
ถึงได้ง่ายกว่าคนที่ไม่มีโทรศัพท์มือถือติดตัว จะเห็นได้ว่ากลไรการดำรงชีวิตของคนที่ใช้โทรศัพท์มือถือ
และ ไม่ใช้โทรศัพท์มือถือนั้นแตกต่างกัน เช่นเดียวกัน
กลไรในการดำรงชีวิตของสังคมที่ใช้อินเตอร์เน็ต ก็จะแตก
ต่างจากสังคมที่ไม่ใช้อินเตอร์เน็ต เป็นต้น
แนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ
-ใช้แนวทางสร้างจริยธรรม (Ethic) ในตัวผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศแนวทางนี้มีหลักอยู่ว่าผู้ใช้
เทคโนโลยีสารสนเทศ จะระมัดระวังไม่สร้างความเดือดร้อนเสียหายต่อผู้อื่น
และในขณะเดียวกันยังตั้งใจที่ทำกิจกรรมจะเสริมสร้างคุณงามความดี
และเป็นประโยชน์อยู่เสมอ
-สร้างความเข้มแข็งให้กับตนเอง
ผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศพึงรำลึกอยู่เสมอว่าในสังคมของเรา
วันนี้ยังมีคนไม่ดีปะปนอยู่มากพอสมควรเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเพียงเครื่องมือที่จะอำนวยความสะดวก
เท่านั้น หากผู้ใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ในทางที่ไม่ดี เทคโนโลยีก็ส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมที่ไม่ได้
ไม่เป็นที่พึง ปรารถนาให้รุนแรงขึ้นได้ การสร้างความเข้มแข็งให้กับตนเอง
ไม่ลุ่มหลงต่อกิจกรรมหนึ่งกิจกรรมใดจนมาก เกินไป ตลอดจนการคิดไตร่ตรองให้รอบคอบ
ถือว่าเป็นข้อปฏิบัติที่จำเป็นในยุคของเทคโนโลยีสารสนเทศนี้
-ใช้แนวทางการควบคุมสังคมโดยใช้วัฒนธรรมที่ดี
แนวทางนี้มีหลักอยู่ว่าวัฒนธรรมที่ดีไว้ เป็นสิ่ง จำเป็นในยุคสารสนเทศ
ยกตัวอย่างเช่น การให้เกียรติซึ่งกันและกัน ยกย่องในผลงานของผู้อื่น
เป็นวัฒนธรรมที่ดีและพึงปฏิบัติในยุคสารสนเทศ
-การสร้างความเข้มแข็งให้กับสังคมชุมชน
ผู้รับผิดชอบในการจัดการด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
และสมาชิกของสังคมพึงตระหนักถึงภัยอันตรายที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีสารสนเทศแหลหาทางป้องกันภัย
อันตรายเหล่านั้น ยกตัวอย่างเช่น
การติดตั้งระบบเพื่อกลั่นกรองข้อมูลที่ไม่เหมาะสมกับเด็กและเยาวชน การ
ให้ความรู้เรื่องภัยอันตรายจากอินเทอร์เน็ตต่อสังคม
-ใช้แนวทางการเข้าสู่มาตรฐานการบริหารจัดการการให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ
ในปัจจุบัน องค์กรต่างๆ
ได้นำเสนอมาตรฐานที่เกี่ยวกับการให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ ถึงแม้ว่าเจตนาเดิมของ
มาตรฐานเหล่านี้จะอำนวยประโยชน์ให้กระบวนการด้านการบริหารงาน
แต่เนื่องจากมาตรฐานต่าง ๆ เหล่า นี้ได้ผ่านการพิจารณาไตร่ตรองอย่างดีจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ส่งผลทำให้แนวทางการเข้าสู่มาตรฐาน
หลายประการสามารถช่วยลดภัยอันตรายจากเทคโนโลยีสารสนเทศได้
-ใช้แนวทางการบังคับใช้ด้วยกฎ ระเบียบ
และกฎหมาย ปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ อาจจะรุนแรง และไม่สามารถแก้ปัญหาด้วยวิธีการอื่น
การกำหนดให้ปฏิบัติตามจะต้องระบุข้อกำหนดทาง ด้านกฎหมาย และบทลงโทษของการละเมิด
เป็นสิ่งจำเป็นผู้บริหารระบบสารสนเทศจะต้องระบุข้อกำหนด ทางด้านกฎ ระเบียบ
ข้อบังคับบทลงโทษ หรือสัญญา ที่จะต้องปฏิบัติตาม เพื่อป้องกันปัญหาสังคมที่จะมา
กับเทคโนโลยีสารสนเทศ
5. ประเด็นพิจารณาการใช้จริยธรรมเพื่อแก้ปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ
5.1 ผลกระทบจากเทคโนโลยีสารสนเทศ
และทฤษฎีเรื่องจริยธรรม
ในปัจจุบันยังมีข้อถกเถียงกันเกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ในเรื่องที่ เกี่ยวกับ ค่านิยม จุดยืน และสิทธิที่บุคคลพึงมีพึงได้ ตัวอย่างเช่น
ข้อถกเถียงที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบจาก การใช้กล้องวงจรปิด
การใช้คุกกี้ในอินเทอร์เน็ต ต่อสิทธิในเรื่องความเป็นส่วนตัวของมนุษย์
หรือข้อถกเถียง ในเรื่องผลกระทบจากความแตกต่างในเรื่องชนชั้นทางสังคม
ต่อสิทธิในการเข้าถึงข้อมูล เช่น โอกาสในการ เข้าถึงอินเทอร์เน็ตของนักเรียนในชนบท
หรือในกรณีข้อถกเถียงในเรื่องการใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ ต่อ
เรื่องทรัพย์สินทางปัญญา เป็นต้น
5.2 เทคโนโลยีสารสนเทศกับจริยธรรมและการเมือง
จากมุมมองที่ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศและสังคมต่างก็ส่งผลกระทบซึ่งกันและกัน
ได้สะท้อนให้เห็น ถึงความสำาคัญของจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
มีผู้วิเคราะห์ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศถูก สร้างขึ้นโดยสังคม
จึงถูกแฝงประเด็นทางการเมืองและเศรษฐกิจอย่างแยบยล ดังเช่น การสร้างภาพของ
พระเอกหรือผู้ร้ายในภาพยนตร์
หรือการเกดิของกระแสโอเพนซอรส์เพอื่คานอำานาจกบัซอฟตแวร์ให้สิทธิการ ใช้ เป็นต้น การสร้างจริยธรรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในแต่ละสังคมจะต้องให้ความสำคัญในเรื่องเหล่านี้
ไว้ด้วย
5.3 เทคโนโลยีสารสนเทศกับจริยธรรมและความเป็นมนุษย์
นอกจากกรณขีองเรื่องทัศนคติ อารมณค์วามรู้สึก
ที่มีต่ออปุกรณห์รอืเทคโนโลยสีารสนเทศทเกี่ยวข้อง กับจริยธรรมและการเมืองดังที่กล่าวมาแล้ว
ความเกี่ยวข้องกับจริยธรรมและความเป็นมนุษย์ ก็มีส่วนสำคัญ อย่างมากโดยเฉพาะในกรณีของการเปลี่ยนแปลงสภาพสังคมในเรื่องของโลกเสมือนจริง
(virtuality) สภาวะของโลกเสมือนจริงในที่นี้
หมายถึงสถานะของการโต้ตอบกันผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ระหว่าง มนุษย์กับมนุษย์
หรือระหว่างมนุษย์กับเครื่องจักร เครือข่ายใยแมงมุม (World Wide Web) หรือที่รู้จักกันว่าโลกไซเบอร์ (Cyberspace) เป็นตัวอย่าง
ของการโตต้อบกนั ในโลกเสมอืนจรงิ โดยเมอื่เทคโนโลยีอินเทอรเน็ตเจริญมากขึ้น
มีการรพัฒนาระบบต่างๆ ที่ ช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตประจำาวันของมนุษย์
ในขณะเดียวกันก็จะส่งผลกระทบกับการดำาเนิน ชีวิตของมนุษย์มากขึ้นเรื่อยๆ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้มีการรวมกลุ่มหรือมีการสร้างสังคมรูปแบบเสมือนจริง
ในกลุ่มของผู้สนใจหรือมีแรงปรารถนา (passion) ในสิ่งเดียวกันมากขึ้น
ตัวอย่างเช่น ชุมชนผู้ใช้อินเทอร์เน็ต (Cyber Community) การศึกษาแบบเสมือนจริง
(Virtual Education) การมีมิตรภาพแบบเสมือนจริง (Virtual
Friendships) องค์กรแบบเสมือนจริง (Virtual Organizations) และอื่นๆ
ในการแก้ไขปัญหาสังคมโดยทั่วไปนั้น
การเสริมสร้างจริยธรรมในหมู่สมาชิกในสังคมเป็นทางแก้ปัญหาที่ถูกต้องและ
ยั่งยืนที่สุด
แต่ความเป็นจริงนั้นเราไม่สามารถสร้างจริยธรรมให้กับปัจเจกบุคคลโดยทั่วถึง ได้
ดังนั้นสังคมจึงได้สร้างกลไกใหม่ขึ้นไว้บังคับใช้ในรูปแบบของวัฒนธรรม
ประเพณีทีดีงาม อย่างไรก็ตามเมื่อสังคมมีขนาดใหญ่ขึ้น
รูปแบบของปัญหาสลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้น จึงมีความจำเป็นจะต้องตราเป็นกฎ
ระเบียบหรือข้อบังคับ ในลักษณะต่างๆ รวมถึงกฎหมายด้วย
ในกรณีของเทคโนโลยีสารสนเทศนี้ก็เช่นกัน การเกิดขึ้นของอินเทอร์เน็ตทำให้รูปแบบของปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยี
สารสนเทศมีความหลากหลายและยุ่งยากมากขึ้น
ด้วยเหตุนี้จึงมีความจำเป็นที่ต้องมีกลไกในรูปของกฎหมายเทคโนโลยีารสนเทศไว้
ใช้บังคับ ในประเทศไทยก็ได้ให้ความสำคัญในเรื่องนี้
โดยได้มีการปฏิรูปกฎหมายทคโนโลยีสารสนเทศ ให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ที่ระบุว่า “รัฐจะต้อง ... พัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นและระบบสาธารณูปโภคตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศให้
ทั่วถึงและเท่าเทียมกันทั่วประเทศ”