Powered By Blogger

วันเสาร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2556

บทที่ 2 บทบาทสารสนเทศกับสังคม


บทที่ บทบาทสารสนเทศกับสังคม
1.บทนำ
            ปลายศตวรรษที่12  โลกได้เข้าสู่ยุคของการปฏิวัติด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการนำทรัพยากรสารสนเทศมาใช้งานอย่างกว้างขวาง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกระบวนการดำเนินงานซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นของยุคแห่งข้อมูลข่าวสาร
            ปลายศตวรรษที่21  แนวโน้มขององค์กรต่างๆ เริ่มมีการปรับฐานการลงทุนของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม ทั้งกระบวนการทางภาครัฐการจัดการความรู้เทคโนโลยีและสื่อสารซึ่งทั้งหมดนี้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
             การปฏิวัติด้านเทคโนโลยีสารสนเทศได้นำความเปลี่ยนแปลงสู่สังคมมากขึ้น เทคโนโลยีและการสื่อสารเข้ามามีบทบาทต่อการดำรงชีวิตและวิถีชีวิตของคนในสังคม ทั้งด้านความเป็นอยู่  การ สื่อสาร  การทำงาน    การคมนาคมขนส่ง  และด้านต่างๆ
            ใน ปัจจุบันนวัตกรรมใหม่ๆที่เกิดขึ้นทำให้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และการสื่อสารได้รับการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นและมีขนาดเล็ก หรือที่เรียกว่า นาโนเทคโนโลยีทำให้เกิดการสื่อสารข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์เป็นไปอย่างฉับพลันผ่านทางด่วนสารสนเทศ

 2. เทคโนโลยีสารสนเทศกับการดำเนินชีวิตในสังคมปัจจุบัน
           ในภาวะปัจจุบันนั้นสารสนเทศได้เป็นปัจจัยพื้นฐานที่ห้า  เพิ่มจากปัจจัยที่สี่ของ มนุษย์ที่เราขาดเสียมิได้ในชีวิตประจำวันทั้งในด้านต่างๆ
         สารสนเทศ เป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งในปัจจุบัน และในยุคสังคมสารสนเทศแห่ง ศตรววษ ที่21 สารสนเทศได้กลายเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดเหนืออื่นสิ่งใด  กล่าวกันสั้นๆสารสนเทศกำลังจะกลายเป็นฐานห่าชงอำนาจอันแท้จริงของอนาคต ทั้งด้านเศรษฐกิจ ด้านการเมือง
เละด้านอื่นๆ
              ในสังคม การเกษตรและอุตสาหกรรมนั้น ต้องพึ่งพาการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์   และผลการใช้ทรัพยากรอย่างฟุ่มเฟือย และต้องมีการใช้อย่างระมัดระวัง
                ในทางตรงกันข้ามกระบวนการ  การผลิต   และการถ่ายทอดสารสนเทศ   อาศัยการใช้วัสดุและพลังงานน้อยมาก  และไม่มีผลเสียต่อภาวะสิ่งแวดล้อม  สารสนเทศยังช่วยในด้านกิจกรรมการผลิตและการบริการต่างๆเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
                ดังนั้นเทคโนโลยีสารสนเทศ  คือ  เทคโนโลยี ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการ  การวิเคราะห์  ประมวลจัดการและจัดเก็บ  เลือกใช้และแลกเปลี่ยน  และการเผยแพร่สารสนเทศ  ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์  ไม่ว่าในรูปแบบใดก็ตาม  รวมนำไปถึงสารสนเทศและข้อมูลนำไปปฏิบัติตามเนื้อหาสารสนเทศนั้นๆเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของผู้ใช้งาน  ก่อให้เกิดประโยชน์จากการบริโภคอย่างกว้างขวางตามต้องการและอย่างประหยัดที่สุด ก็ต้องอาศัยทั้งสองเทคโนโลยีข้างต้นในการจัดการและสื่อสารขนย้าย จากแหล่งข้อมูลสารสนเทศ สู่ผู้บริโภคในที่สุด

       นอกจากเป็นเทคโนโลยีที่ไม่ทำรายธรรมชาติหรือสร้างมลภาวะ  (ในตัวของมันเอง) ต่อสิ่งแวดลิอมคุณสมบัติโดดเด่นอื่นๆที่กลายเป็นเทคโนโลยี ยุทธศาสตร์ สำคัญแห่งยุคปัจจุบันและในอนาคต  คือ   ความสาสมรถในการเพิ่มประสิทธิภาพและสมรรถภาพในเกือบทุกๆกิจกรรมอาทิโดย
    1.การลดต้นทุนค่าใช้จ่าย
    2.การเพิ่มคุณภาพของงาน
    3.การสร้างกระบวนการและกรรมวิธีต่างๆ
    4.การสร้างผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ
        ฉะนั้นโอกาสและขอบเขตนำ เทคโนโลยีมาใช้จึงหลากหลายทุกๆกิกรรม เช่นภาคทางสังคม  การปกครอง เศรษฐกิจ เกษตรกรรม  อุตสาหกรรม  การบริการต่างๆเป็นต้น

3.เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาสังคม  
       จัดว่ามีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศเพราะแม้ว่าเทคโนโลยี นี้ยังไม่มีบทบาทโดนเด่นในการพัฒนาด้านต่างๆบ้าง  แต่ในด้านพัฒนาสังคม และคุณภาพชีวิตของประชาชน ด้านการจัดบริการสังคมพื้นฐาน ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพอย่างยิ่ง
            บทบาทของเทคโนโลยีต่อการพัฒนาสังคมตามที่ประเทศที่พัฒนาแล้ว ต้องสามารถก่อให้เกิดประโยชน์นานาต้องสร้างคุณภาพและโอกาสแก่ประชาชน
           เทคโนโลยีสารสนเทศจะส่งผลต่อสังคมขึ้นอยู่กับการที่จะเลือกใช้มันอย่างไรให้เกิดประโยชน์การยอมรับสถานภาพว่าตนเป็นส่วนหนึ่งของสังคมนั้นๆและการถ่ายทอดวัฒนธรรมนั้นๆของสังคม

4.สารสนเทศกับบุคคล
            การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดความต้องการใช้มากขึ้น สารสนเทศมีการใช้ให้เกิดความรู้ความเข้าใจและนำความรู้ความเข้าใจนำไปปรับใช้ปรับปรุงพัฒนาตนเองให้เกิดประโยชน์  และใช้อย่างทันเวลาและรวดเร็ว
 5.สารสนเทศเทศกับสังคม
    5.1ด้านการศึกษา  การจัดการการเรียนการสอนมุ้งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  โดยผู้สอนต้องแนะนำช่วยเหลือ และกระตุ้นศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเองการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล การศึกษาค้นคว้าวิจัยพัฒนาองค์กรความรู้ใหม่ๆ จำเป็นต้องใช้สารสนเทศ
     5.2ด้านสังคม  สารสนเทศช่วยพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์ช่วยพัฒนาบุคลิกภาพและทำให้บุคคลอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข อีกทั้งช่วยในการเกิดความคิดสร้างสรรค์การเกิดประดิษฐ์ค้นคว้าด้านเทคโนโลยีใหม่ๆที่นำมาซึ่งความสะดวกสบายในการดำเนินชีวิต
        5.3ด้านเศรษฐกิจ สารสนเทศมีความสำคัญใยการขับเคลื่อนเศรษฐกิจยุคใหม่ เรียกกว่า (เศรษฐกิจบนฐานความรู้)หน่วยงานหรือประกอบการธุรกิจให้ความสำคัญกับ การจัดการความรู้
ทั้งนี้สารสนเทศช่วยประหยัดเวลาในการผลิต อีกทั้งทั้งช่วยให้องค์กรได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆได้ตามความต้องการของตลาด
        5.4ด้านวัฒนธรรม  สารสนเทศเป็นรากฐานที่จำเป็นสำหรับความก้าวหน้าของอรรยธรรม  ช่วยสืบทอด   ค่านิยม  ทัศนคติ   วัฒนธรรมเอกลักษณ์อันดีงามของชาติ  ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจ ความสามัคคีความมั่นคงของชาติ
         เทคโนโลยีสารสนเทศที่มีบทบาทสำคัญต่อทุกสาขาอาชีพ ส่งผลการเปลี่ยนแปลงต่อสิ่งต่างๆ
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือการสื่อสารไร้พรมแดน     ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมเปลี่ยนแปลงในลักษณะที่เป็นสังคมโลก  กล่าวคือ  มีแนวโน้มเป็นทิศทางเดียวกันทั้งหมด
6.บทบาทเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการศึกษา
         สารสนเทศในการพัฒนาคุณภาพประชาชนเน้นในการศึกษา โดยเน้นพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้เป็นระบบกลางที่มีราคาถูกเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของประชาชนจะอาศัยแหล่งความรู้และสารสนเทศจากทั่วโลกซึ่งมีผลต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพราะการเรียนรู้ตลอดชีวิตมีความจำเป็นต่อทุกคน การพัฒนาตนเองนำไปสู่การพัฒนาการงานพัฒนาอาชีพและการพัฒนาให้ดีขึ้นและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นแหล่งความรู้เป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต สำหรับประเทศไทยได้ระบุในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ การพัฒนา
 .

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น